20 มีนาคม 2566

Cheklist ลดหย่อนภาษีปี 2565

20 มีนาคม 2566

Cheklist ลดหย่อนภาษีปี 2565

ลดหย่อนภาษี 2565 สำหรับบุคคลธรรมดา จะใช้สิทธิช้อปดีมีคืน ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือบริจาคได้เท่าไร ลองมาคำนวณกันก่อนยื่นภาษี 2565

 

สำหรับมนุษย์เงินเดือน หรือฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์กำหนด จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นประจำทุกปี แน่นอนว่าคนที่มีเงินเดือนสูง หรือมีรายได้จากส่วนอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา หากไม่บริหารภาษีให้ดีก็อาจต้องเสียภาษีถึงหลักหมื่น หลักแสน แต่ถ้าได้ลองคำนวณภาษีไว้ล่วงหน้า แล้วหาตัวช่วยมาลดหย่อนภาษี คงประหยัดภาษีได้มากเลยทีเดียว ว่าแต่…ในปีนี้เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากอะไรได้บ้าง ลองมาศึกษาเพื่อวางแผนก่อนยื่นภาษี 2565 ในช่วงต้นปี 2566


ก่อนอื่นต้องทราบว่า คนกลุ่มไหนที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565 บ้าง ซึ่งจะอ้างอิงจากจำนวนเงินได้ที่ได้รับในปีนั้น

 

คนโสด

·         กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีรายได้เกิน 120,000 บาท

·         กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย เช่น มีรายได้จากการค้าขาย ค่าลิขสิทธิ์ เงินปันผล รายได้จากการเป็นฟรีแลนซ์ ฯลฯ จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

·         กรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

คนมีคู่

·         กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 220,000 บาท

·         กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท

·         กรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท

 

คํานวณภาษี 2565 ได้อย่างไร

 

1. นำรายได้ทุกประเภทที่มีในปีนั้นมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส เงินจากการทำธุรกิจ เงินปันผล ฯลฯ

2. นำค่าลดหย่อนต่าง ๆ มาลบออกจากรายได้ เช่น

          - กรณีมีเงินได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ฯลฯ สามารถหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

          - หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

          - หักค่าลดหย่อนภาษีอื่น ๆ ตามที่เรามี

3. หลังจากนำค่าลดหย่อนทั้งหมดมาลบออกจากรายได้แล้ว เงินส่วนที่เหลือจะเรียกว่า "เงินได้สุทธิ" ซึ่งจะต้องนำเงินจำนวนนี้ไปคำนวณภาษี เพื่อเสียภาษีตามขั้นบันได 5-35% ดังนี้

 

หากมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษี เท่ากับว่าคนที่มีเงินเดือนไม่เกิน 25,833 บาท และไม่มีรายได้ส่วนอื่น ๆ จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเมื่อรวมรายได้ทั้งปีจะไม่เกิน 310,000 บาท หลังจากหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท และค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 60,000 บาท ก็จะเหลือเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทนั่นเองหากมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษี เท่ากับว่าคนที่มีเงินเดือนไม่เกิน 25,833 บาท และไม่มีรายได้ส่วนอื่น ๆ จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเมื่อรวมรายได้ทั้งปีจะไม่เกิน 310,000 บาท หลังจากหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท และค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 60,000 บาท ก็จะเหลือเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทนั่นเอง



ลดหย่อนภาษี

กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว

1. ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล    :     60,000 บาท

2. ค่าลดหย่อนจาดคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้    :     60,000 บาท

3. ค่าลดหย่อนบุตร    :     คนละ 30,000 บาท

4. ลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป    :     คนละ 30,000 บาท

5. ค่าลดหย่อนภาษี ฝากครรภ์และคลอดบุตร    :     ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท

6. ค่าลดหย่อนบิดา มารดา    :     คนละ 30,000 บาท

7. ค่าลดหย่อยภาษี ค่าอุปการพะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ    :     คนละ 60,000 บาท

 

ลดหย่อนภาษี

กลุ่มประกัน การออมและการลงทุน

1. ลดหย่อนภาษีประกันสังคม

2. ลดหย่อนภาษี ประกับชีวิตแบบสะสมทรัพย์ หรือเงินฝากเพื่อสงเคราะห์ชีวิต

3. ลดหย่อนภาษี ประกันชีวิตคู่รมรสที่ไม่มีเงินได้

4. ลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพตัวเอง

5. ลดหย่อนภาษี ประกันสุขภาพบิดา - มารดา

6. ลดหย่อนภาษี ประกันชีวิตแบบบำนาญ

7. ลดหย่อนภาษี SSF หรือ RMF หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือ กองทุนการออมแห่งชาติ

8. ลดหย่อนภาษี เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise.

 

ลดหย่อนภาษี

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์

1. ลดหย่อนภาษี ดอกเบี้ยบ้าน

 

ลดหย่อนภาษี

กลุ่มเงินบริจาค

1. เงินบริจาคเพื่อสนับสุนการศึกษา

2. เงินบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของรัฐ

3. เงินบริจาคสนับสนุนการกีฬา

4. เงินบริจาคเพื่อการพัฒนาสังคม

5. เงินบริจาคให้แก่มูลนิธิด้านสาธารณสุข

 

เงินบริจาคที่ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

1. เงินบริจาคให้กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

2. เงินบริจาคทั่วไป

3. เงินบริจาคให้พรรคการเมือง

 

ลดหย่อนภาษี

กลุ่มโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

1. ช็อปดีมีคืน


กรณียกเว้นภาษี

1. ผู้พิการ

2. ผู้สุูงอายุ

3. เครดิตภาษีเงินปันผล